วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ส่งงานครั้งที่ 2 : ความสนใจ





กุ้งมังกร ( SPINY LOBSTER)


    กุ้งมังกรเป็นกุ้งทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งจัดอยู่ในครอบครัว Palinuridae พบมากทางชายฝั่งทะเลภาคใต้ฝั่งตะวันตกของประเทศไทย ด้านทะเลอันดามัน ตั้งแต่จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล คนทั่วไปมักเรียกชื่อกุ้งชนิดนี้ว่า "กุ้งหัวโขน" ทั้งนี้เพราะลักษณะเด่นของส่วนหัวของกุ้งมังกรมีสีสันลวดลายสวยงาม
    กุ้งมังกรหรือกุ้งหัวโขนเป็นสัตว์น้ำอีกชนิดหนึ่งที่มีศักยภาพสูงในอนาคต นับเป็นสัตว์น้ำที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เนื่องจากความต้องการของตลาดมีมาก ทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีราคาค่อนข้างแพง นอกจากจะใช้บริโภคเป็นอาหารแล้ว ยังใช้ทำเครื่องประดับตกแต่งบ้านและเลี้ยงไว้ในตู้ปลาสวยงามได้อีกด้วย (web 2,3) 

ลักษณะรูปร่าง
         
        กุ้งมังกรจะมีขนาดใหญ่กว่ากุ้งชนิื่นมาก มีกระงรูปทรงกระบอก หนวดคู่ที่ สองยาวกว่าความยาวของลำตัวมาก โคนหนวดคู่ที่สองไม่อยู่ติดกัน บนแผ่นกลาง หนวดมีหนามขนาดใหญ่อยู่ปลายสุด 1 คู่ อยู่ตรงแนวกลางของโคนหนวดคู่ที่ 1 โคน ละ 1 หนาม ปล้องท้องเรียบไม่มีร่องขวางกลางปล้อง ขอบท้ายของปล้องท้องมีลาย สีครีมขวางทุกปล้อง พบทั่วไปตามหาดโคลนทั้งทางด้านอ่าวไทยและทะเลอันดามัน (web 1,2,3) 
        
         ชนิดในน่านน้ำของประเทศไทยมีกุ้งมังกรอยู่หลายชนิด ไม่ว่าจะ เป็น P.ornatus, P.polyphagus, P. longipes, P.versicolor, P.homarus, P.penicillatus, P.dasypus ฯลฯ แต่ ชนิดที่พบบ่อยมีอยู่ 3 ชนิดคือ
      
         กุ้งมังกรประขาว , หัวโขนประขาว , กุ้งมังกรแดง (PURPLISH BROWN SPINY LOBSTER Panulirus longipes) เป็นกุ้งทะเลที่มีขนาดใหญ่ สวยงามมาก สีบริเวณลำตัวมีสีเทาหม่นอมน้ำตาล มีแถบขาวขวางตามปล้องลำตัวและขาเดิน หนวดคู่ยาวจะมีความยาวเป็น 2 เท่าของลำตัว บริเวณหัวจะมีหนามแหลมๆ เต็มไปหมด หนามคู่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุยู่หลังตา อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งกุ้งชนิดนี้จะอยู่ที่พื้นหน้าดินเป็นโคลน หรือโคลนปนเปลือกหอย มักจะชอบซ่อนตัวตามซอกหินกินอาหารพวกสัตว์น้ำเล็กๆ ซึ่งเกาะอยู่ตามตะไคร่น้ำ มีความยาวประมาณ 18-30 ซม

        กุ้งมังกรประเหลือง ,หัวโขนประเหลือง, กุ้งมังกรยักษ์ (YELLOW-RING SPINY LOBSTER Panulirus ornatus) ลำตัวสีน้ำทะเล มีจุดสีส้มประปราย บริเวณเปลือกหัวมีลักษณะแข็งมาก ขาเดินจะมีแถบสีเหลืองคาดขวางลำตัว มีขีดสีเหลืองสั้น 2 ขีด อยู่ด้านข้างของปล้องลำตัว อาศัยอยู่ตามโพรงหิน โพรงปะการัง แต่อยู่ในระดับน้ำลึก และกระแสน้ำค่อนข้างเชี่ยว พบทั่วไปตามบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย กินอาหารพวกหอยและสัตว์น้ำที่อยู่ตามพื้นทะเล มีความยาวประมาณ 20-40 ซม.

        กุ้งมังกรหัวเขียว หัวโขนเขียวหรือกุ้งมังกรเจ็ดสี (PAINTED SPINY LOBSTER panulirus versicolor) เป็นกุ้งมังกรที่มีขนาดใหญ่กว่ากุ้งอื่นๆ ในวงศ์เดียวกัน ลำตัวค่อนข้างยาว ท่อนหัวจะยาวประมาณครึ่งหนึ่งของความยาวลำตัว มีหนวด 2 คู่ คู่แรกมีขนาดเล็ก ปลายหนวดแต่ละเส้นแยกเป็นหนวดเล็กๆ ข้างละสองเส้น หนวดคู่ที่สองมีขนาดใหญ่และมีความยาวประมาณ 2 เท่าของความยาวลำตัว ส่วนของหัวมีลักษณะเป็นหนามขรุขระ มีขาเดิน 5 คู่ แพนหางแบนราบ สีตรงส่วนบนของลำตัวเป็นสีเขียวเข้มอมสีตองอ่อน ตามปล้องของลำตัวจะมีขอบเป็นสีขาวอยู่ตรงบริเวณข้อพับทุกปล้อง หางมีสีเหลืองอมแดง บริเวณใต้ท้องมีรยางค์ 6 คู่ อาศัยอยู่ตามพื้นทะเลซึ่งมีโขดหิน และบริเวณรอบเกาะที่มีปะการังหนาแน่นพบว่ามีอยู่มากที่หมู่เกาะพีพี เกาะไม้ท่อน ภูเก็ต และบริเวณกลางอ่าวไทย กินอาหารพวกหอยและสัตว์น้ำที่อยู่ตามพื้นทะเล มีขนาดควายาวจากหัวถึงหางประมาณ 70 ซม. (web 1,2)

การเจริญเติบโต
      
           กุ้งมังกรเป็นกุ้งที่เติบโตช้ามากเมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ การเจริญเติบโตใช้วิธีการลอกคราบในขณะที่อยู่ในวัยอ่อน จะมีการลอกคราบบ่อยครั้ง คือประมาณอาทิตย์ละ 1-2 ครั้ง กว่าจะโตเต็มที่ต้องใช้เวลาประมาณ 5-7 ปี
การเพาะพันธุ์
           
           ประเทศที่ประสบผลสำเร็จในการเพาะฟักกุ้งมังกรได้แก่ ประเทศญี่ปุ่นและอัฟริกาเท่านั้นส่วนในประเทศไทยการเลี้ยงกุ้งมังกรในเชิงพานิชย์ยังไม่สามารถทำได้ เนื่องจากกุ้งมังกรมีระยะวัยอ่อนค่อนข้างยาวนาน จึงไม่สามารถอนุบาลลูกกุ้งวัยอ่อนให้รอดและเจริญเติบโตในบ่อเพาะฟักได้ กุ้งมังกรที่เลี้ยงจึงเป็นกุ้งที่หาได้จากแหล่งธรรมชาติ แล้วนำมาเลี้ยงให้ได้ขนาดต่อไป (web 1,2,3)

                                                             
                                                              การเลี้ยงกุ้งมังกร



         การเลี้ยงกุ้งมังกรในบ่อซีเมนต์: บ่อที่ใช้เลี้ยงเป็นบ่อซีเมนต์กลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 130 ซม.ลึก 80 ซม.ระดับน้ำที่เลี้ยง 35 ซม. น้ำที่ใช้เลี้ยงเป็นน้ำทะเลสดพักไว้ในบ่อพักน้ำแล้วปล่อยให้ไหลลงบ่อเลี้ยง ตลอดเวลา (over flow) พร้อมทั้งให้ฟองอากาศ ที่กลางบ่อมีท่อ PVC เจาะรูขนาดเล็กโดยรอบเพื่อให้น้ำและเศษอาหารเหลือไหลผ่านออกไปได้ ควบคุมระดับน้ำด้วยท่อน้ำล้นนอกบ่อ แต่ละบ่อทดลองใส่ท่อ PVC สั้นๆ เพื่อเป็นที่หลบซ่อน ความเค็มของน้ำอยู่ในช่วง 29-31 ppt อุณหภูมิของน้ำในบ่อเลี้ยงประมาณ 29.0-34.5 องศาเซลเซียส กุ้งมังกรที่เลี้ยงมี 3 ชนิด คือ Panulirus ornatus,Panulirus homarus และ Panulirus polyphagus เป็นกุ้งมังกรวัยรุ่นมีขนาด CL เฉลี่ย 51.06-54.38 มม.(carapace lengh (CL) =ระยะจากกึ่งกลางหนามคู่หน้าถึงปลายสุดกึ่งกลาง carapace) ปล่อยกุ้งบ่อละ 4 ตัว เนื่องจากถ้าปล่อยกุ้งแน่นเกินไปจะแย่งที่อยู่และอาหารกัน ขณะเดียวกันพฤติกรรมการกินกันเอง (canibalism) ก็จะเกิดมากขึ้นด้วย แต่ถ้าปล่อยเลี้ยงตัวเดียวในบ่อ อัตราการเจริญเติบโตจะลดลง ส่วนอาหารที่ใช้เลี้ยงกุ้งมังกรคือปลาเป็ดสับเป็นชิ้นเล็กๆ ให้วันละ 2 ครั้ง ในเวลา 6 เดือน กุ้งมังกร Panulirus ornatus มีอัตรารอด 77 เปอร์เซ็นต์,Panulirus homarus 78 เปอร์เซ็นต์ และ Panulirus polyphagus 39 เปอร์เซ็นต์



         การเลี้ยงกุ้งมังกรในกระชัง: นำกุ้งมังกรขนาดเท่านิ้วก้อย มาอนุบาลในกระชังตาถี่ก่อน อาหารของกุ้งมังกรขนาดเล็กจะเป็นพวกหอยแมลงภู่บดหรือสับให้ละเอียดโรยให้วัน ละ 1 มื้อ บริเวณที่เลี้ยงต้องมีน้ำขึ้นน้ำลงตลอด และเป็นที่น้ำไหล ไม่มีคลื่น เมื่ออนุบาลลูกกุ้งมังกรได้ 2 เดือน จะได้ขนาด 200 กรัม จึงย้ายมาไว้ในกระชังรวมได้ กระชังมีขนาด 2.5x2.5 เมตร ลึกประมาณ 2 เมตร ปล่อยลูกกุ้งมังกรประมาณ 50 ตัว/กระชัง อาหารของกุ้งมังกรในระยะนี้จะเป็นปลาเป็ดหรือหอยแมลงภู่มีชีวิตทั้งเปลือก วันละ 1 ครั้ง และเมื่อเลี้ยงในกระชังเป็นเวลานาน กระชังจะมีหอย,เพรียง,สาหร่าย และสัตว์น้ำอื่นๆ เกาะติด ซึ่งจะกลายเป็นอาหารธรรมชาติของกุ้งต่อไป นอกจากนี้ ต้องปิดกระชังด้านบนด้วยเนื้ออวน เพื่อป้องกันกุ้งมังกรไต่หลบหนีออกจากระชัง ถ้าใช้ระยะเวลาในการเลี้ยง 8-9 เดือน จะได้กุ้งมังกรขนาด 0.8-1.0 กก.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น