วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

งานครั้งที่ 3 : ความสนใจ




กุ้งก้ามกราม




กุ้งก้ามกราม เป็นกุ้งนำ้จืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ Palaemonidae มีเปลือกสีเขียวอมฟ้าหรือม่วง ก้ามยาวมีม่วงเข้ม ตลอดทั้งก้ามมีปุ่มตะปุ่มตะป่ำ โดยธรรมชาติจะอยู่ในแม่น้ำ ลำคลอง แทบทุกจังหวัดในภาคกลางและภาคใต้ ทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อย วางไข่ในน้ำกร่อยที่เค็มจัด อาหารได้แก่ ไส้เดือน ตัวอ่อนของลูกน้ำ ลูกไร ลูกปลาขนาดเล็ก ซากของสัตว์ต่างๆ และในบางโอกาสก็กินพวกเดียวกันเอง พบชุกชุมทำให้จับง่าย โดยเฉพาะในฤดูหนาว ด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน ทำให้ปริมาณในธรรมชาติลดน้อยลง ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในจังหวัดต่าง ๆ แถบภาคกลางของประเทศไทย เช่นสุพรรณบุรี, นครปฐม, ฉะเทริงเทรา และต่างประเทศด้วย เช่น ที่ สหรัฐอเมริกา เป็นต้น
กุ้งก้ามกราม มีความยาวประมาณ 13 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 1 ฟุต น้ำหนักราว 1 กิโลกรัมเป็นกุ้งที่ถูกใช้ปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย เช่น ต้มยำ, เผา หรือ ทอด เป็นต้น เพราะเนื้อมีมาก เนื้อแน่น มัน อร่อย ทำให้มีราคาที่ขายสูง ปัจจุบัน ยังนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์น้ำสวยงามด้วย
กุ้งก้ามกราม มีชื่อเรียกที่ต่างออกไปมากมาย เช่น "กุ้งแม่น้ำ", "กุ้งหลวง" ขณะที่กุ้งตัวเมียที่มีขนาดลำตัวเล็กกว่า เรียก "กุ้งนาง"
การเตรียมพันธุ์กุ้งก้ามกราม

        กุ้งก้ามกรามที่นำมาเลี้ยงเป็นกุ้งก้ามกรามที่เลี้ยงในบ่อดินทั่วไป คัดกุ้งก้ามกรามเพศผู้ที่มีขนาด 50-60 กรัมขึ้นไปมาเลี้ยงภายในโรงเรือนที่มีภาชนะแบบแยกเลี้ยงเดี่ยว ก่อนน้ำมาเลี้ยงควรตรวจสอบประวัติการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามบ่อดินนั้น ๆ ก่อนว่า มีการเลี้ยงถูกวิธีให้อาหารมีคุณภาพไม่มีการตายก่อนจับ เป็นต้น


        วิธีการเลี้ยงและการให้อาหาร


        ขนาดกุ้งก้ามกรามที่เริ่มต้นเลี้ยงแบบแยกเดี่ยว ควรมีขนาด 50-60 กรัมขึ้นไป ปล่อยเลี้ยงภาชนะละ 1 ตัว ให้อาหารเม็ดวันละ 2 ครั้ง เวลา 09.00 น. และ เวลา 20.00 น. ให้ประมาณ 1-2 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว ตรวจเช็คอาหารที่กุ้งก้ามกรามกินเหลือทุกครั้งก่อนให้ครั้งต่อไป ถ้ามีอาหารเหลือไม่ต้องให้อาหารเพิ่ม เปิดระบายน้ำจากภาชนะที่ใช้เลี้ยงกุ้งก้ามก้าม เพื่อระบายของเสียออกทุก ๆ 3-4 วัน เลี้ยงนาน 4-6 เดือน ได้น้ำหนักกุ้ง 200-250 กรัม/ตัว

      เลี้ยงนาน 4-6 เดือน ได้กุ้ง 4 ตัวต่อกิโลกรัม ท่านคิดถึงอะไรอยู่ แต่ถ้าถามผมนี่เลย “ต้มยำกุ้ง” อาหารยอดฮิตของคนไทย ดีนะครับ ที่ผมไม่เลี้ยงเอง ถ้าเลี้ยงเองสงสัยผมคงเป็นจาพนมไปแล้ว  กุ้งก้ามกรามกลายเป็นต้มยำกุ้งหมด อดขายกันพอดี  การเลี้ยงกุ้งคอนโดฯ นับว่าน่าสนใจมากเลย อาจจะอาจจะใช้เงินทุนบ้างในเบื้องต้น แต่เป็นการลงทุนเพียงครั้งแรกเท่านั้น สิ่งที่สำคัญเลี้ยงได้ทุกพื้นที่แม้จะมีพื้นที่ไม่มาก การดูแลและการควบคุมก็สะดวก ในเรื่องของการตลาดแทบไม่ต้องเป็นห่วงเลย มีแน่นอน แค่ท่านกล้าตัดสินใจเท่านั้นเอง
การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบบคอนโด

                                                  

โรงเรือนเลืี้ยงกุ้มก้ามกราม
โรงเรือนปิดขนาด 90 ตารางเมตร ประกอบด้วย พลาสติกทนรังสี UV คลุมที่โรงเรือน เพื่อเพิ่มอุณหภูมิน้ำภายในโรงเรือน
         1. บ่อซีเมนต์ขนาด 55 ตารางเมตร 1 บ่อ (กว้าง 5.5 เมตร ยาว 10 เมตร สูง 0.8 เมตร) แบ่งเป็น พื้นที่บ่อสำหรับบำบัดน้ำ 13.8 ตารางเมตร และบ่อรับน้ำขนาด 41.2 ตารางเมตร
         2. ภาชนะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบบแยกเดี่ยวขนาด 22.5 ลิตร จำนวน 1,000 ใบ (กว้าง 0.26 เมตร ยาว 0.35 เมตร สูง 0.25 เมตร) วางเป็นแนวยาว 6 แถว ๆ ละ 6 ชิ้น

                                            

การวางภาชนะเป็นรูปคอนโดฯ

1. ปั๊มลมขนาด 1 แรงม้า จำนวน 1 ตัว
2. ปั๊มน้ำขนาดท่อ 2 นิ้ว จำนวน 1 ตัว
        ในส่วนของขนาดบ่อ  หรืออุปกรณ์การเลี้ยงสามารถปรับเปลี่ยนขนาดและจำนวนได้ตามความเหมาะสม ภาชนะที่ใช้เลี้ยง อาจใช้วัสดุที่เหลือใช้ เช่น กล่องพลาสติก, ตู้กระจก เพื่อประหยัดต้นทุน แต่ต้องไม่เล็กจนเกินไป


ระบบน้ำ

        ระบบน้ำที่ใช้ในโรงเรือนเลี้ยงกุ้งก้ามกราม เป็นระบบน้ำหมุนเวียนตลอดเวลา โดยน้ำจะไหลผ่านภาชนะที่ใช้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามจากชั้นบนลงสู่ชั้นล่าง ตกลงสู่บ่อรับน้ำไหลผ่านบ่อบำบัดน้ำ แล้วจึงใช้ปั๊มน้ำขนาด 2 นิ้ว สูบขึ้นไปผ่าน ภาชนะที่ใช้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามใหม่หมุนเวียนตลอด 24 ชั่วโมง





       ระบบการให้อากาศ


       ระบบการให้อากาศใช้ปั๊มลมหมุนด้วยมอเตอร์ขนาด 1 แรงม้า แล้วต่อสายอากาศแยกลงแต่ละภาชนะที่ใช้เลี้ยงกุ้งก้ามกราม เพื่อทำให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำภายในภาชนะดีขึ้น และเป็นระบบสำรองออกซิเจน ในกรณีที่ปั๊มน้ำไม่ทำงาน


การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในขวดพลาสติค




      สถานี ประมงน้ำจืดจังหวัดชัยนาท เป็นหน่วยงานแรกที่เริ่มทดลองเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในขวดพลาสติค เริ่มต้นในช่วงที่ 

      คุณสนธิพันธ์ ผาสุขดี ยังดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าสถานี โดยมีจุดเริ่มต้นของแนวคิดจากการสังเกตพฤติกรรมของกุ้งก้ามกรามที่อาศัยอยู่ ในแหล่งน้ำธรรมชาติว่ามักจะอาศัยอยู่ตามซอกหินหรือโขดหินซึ่งจะใช้พื้นที่ อาศัยไม่มากนัก และกุ้งแต่ละตัวจะมีอาณาเขตของตัวเอง นอกจากนั้น ยังได้ทำการศึกษาจากตำราและรายงานวิจัยต่างๆ พบว่า กุ้งก้ามกรามไม่ต้องการพื้นที่ในการดำรงชีวิตมากนัก ทำให้คิดว่าน่าจะนำเอากุ้งก้ามกรามมาทดลองเลี้ยงในขวดพลาสติคได้ เพียงแต่ยึดหลักการในการเลี้ยงว่า "น้ำที่ใช้เลี้ยงจะต้องสะอาดและใช้อาหารที่มีคุณภาพเลี้ยง" จากสมมติฐานดังกล่าว ทางสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดชัยนาทจึงได้เริ่มต้นทำการศึกษาความเป็นไปได้ใน การเลี้ยง โดยได้ทดลองเลี้ยงในขวดพลาสติคขนาดต่างๆ โดยนำเอากุ้งก้ามกราม ขนาด 20-30 ตัว ต่อกิโลกรัม มาทดลองเลี้ยงในขวดพลาสติค ขวดละ 1 ตัว ปรากฏผลว่าในขวดพลาสติคขนาดบรรจุน้ำ 5 ลิตร ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ


เลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบบระบบปิด

        หลักการแรกที่สำคัญคือจะต้องเลี้ยงในระบบปิด น้ำที่ใช้เลี้ยงจะต้องหมุนเวียนนำกลับมาใช้ได้ใหม่ ดังนั้น ระบบการกรองและการหมุนเวียนน้ำจะต้องดีและมีประสิทธิภาพมาก สำหรับขั้นตอนในการเลี้ยง นำขวดพลาสติค ขนาด 5 ลิตร (ใช้ขวดบรรจุน้ำโพลารีสที่ใช้แล้ว) ตัดขวดด้านข้างให้เป็นช่องเพื่อให้น้ำสามารถไหลลงมาในขวดได้ นำขวดพลาสติคไปทำความสะอาดแล้วนำไปวางในแนวนอน โดยเอาด้านที่ตัดไว้ด้านบนวางเรียงเป็นแถวเพื่อความสะดวกในการจัดการ นำกุ้งก้ามกราม ขนาด 20-30 ตัว ต่อกิโลกรัม ปล่อยเลี้ยงขวดละ 1 ตัว ในการคัดกุ้งมาเลี้ยงนั้นจะต้องคัดกุ้งที่มีความสมบูรณ์ ขาและก้ามจะต้องอยู่ครบ ไม่มีแผลตามลำตัว เลี้ยงด้วยอาหารกุ้งกุลาดำ ให้วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น อัตราประมาณ 5% ของน้ำหนักตัวกุ้ง

ระบบการหมุนเวียนน้ำ

        คือหัวใจที่สำคัญของการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม น้ำที่จะใช้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามจะใช้น้ำประปาก็ได้ แต่จะต้องผ่านกระบวนการกำจัดคลอรีนออกแล้ว น้ำมีค่าความเป็นกรด-ด่าง ประมาณ 7-8 (ค่า pH=7-8) ส่วนระบบการหมุนเวียนของน้ำนั้นจะใช้วิธีการสูบน้ำไปในท่อ พีวีซี แล้วเจาะรูให้น้ำหยดลงมาตรงช่องที่วางขวดไว้พอดี เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำในขวดพลาสติค อัตราการปล่อยน้ำในเวลา 1 นาที ควรจะให้น้ำไหลเข้าขวดได้ประมาณ 600-800 ซีซี น้ำที่ล้นออกมาจากขวดจะไหลตกลงสู่บ่อพักด้านล่าง ซึ่งทำเป็นบ่อคอนกรีตที่มีกรวดและหินช่วยกรองเศษอาหารไว้ น้ำที่ผ่านกระบวนการนี้จะใสสะอาดพร้อมที่จะสูบขึ้นมาใช้ใหม่

ปัญหาเรื่องไฟฟ้าดับ จะต้องมีกระแสไฟฟ้าสำรอง


       ปัญหา ที่สำคัญอย่างหนึ่งของเกษตรกรที่คิดจะเลี้ยงกุ้งในขวดพลาสติคหรือการเลี้ยง แบบคอนโดฯ นั้น จะต้องระมัดระวังเรื่องไฟฟ้าดับ ถ้าไฟฟ้าดับเกิน 1 ชั่วโมง และเครื่องสูบน้ำไม่สามารถสูบน้ำขึ้นไปหมุนเวียนได้ กุ้งจะตายเพราะขาดออกซิเจน ดังนั้น ควรจะมีเครื่องปั่นกระแสไฟฟ้าไว้สำรองหรืออาจจะเตรียมถังน้ำสำรองไว้ด้านบน แล้วปล่อยน้ำลงมาก็ได้ สิ่งที่ผู้เลี้ยงอีกประการหนึ่งที่ไม่ควรละเลยก็คือ อุณหภูมิของน้ำที่ใช้เลี้ยงควรจะมีอุณหภูมิประมาณ 28 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิต่ำลงไปกว่านี้พบว่า กุ้งจะกินอาหารน้อยลง มีผลต่อการเจริญเติบโตของกุ้งและถ้าอุณหภูมิของน้ำสูงกว่า 30 องศาเซลเซียส อาจจะทำให้กุ้งถึงตายได้

ผลจากการเลี้ยงกุ้งในขวดพลาสติค 1 เดือน

        มีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นเท่าตัว สิ่งที่สนับสนุนถึงความเป็นไปได้ในการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในขวดพลาสติคก็คือ พบว่า กุ้งมีอัตราการเจริญเติบโตที่เร็วมาก หลังจากที่ได้ทดลองเลี้ยงไปนาน 1 เดือน กุ้งมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นถึง 1 เท่าตัว กล่าวคือ ถ้านำกุ้งที่มีน้ำหนัก 15 กรัม มาเลี้ยง 1 เดือน จะได้กุ้งที่มีน้ำหนัก 30 กรัม นับเป็นอัตราการเจริญเติบโตที่น่าพอใจ จากการศึกษายังพบว่า กุ้งที่เลี้ยงในขวดพลาสติคนั้นจะมีการลอกคราบเร็วกว่าที่เลี้ยงในบ่อดิน จากการศึกษาและทดลองที่ผ่านมาทำให้ได้ข้อสรุปในเบื้องต้นว่า เมื่อนำกุ้งก้ามกราม ขนาด 20-30 ตัว มาเลี้ยงในขวดพลาสติคและใช้เวลาเลี้ยงนานประมาณ 5 เดือน จะได้กุ้งที่มีน้ำหนัก 3-4 ตัว ต่อกิโลกรัม ซึ่งจะจับขายได้ถึงกิโลกรัมละ 600-700 บาท


        อย่างไรก็ตาม หลังจากการทดลองเลี้ยงในขวดพลาสติค เริ่มพบปัญหากุ้งตาย เมื่อกุ้งมีขนาดใหญ่ขึ้นเนื่องจากไม่สามารถลอกคราบได้ สาเหตุหลักน่าจะมาจากขวดพลาสติคที่ใช้เลี้ยงแคบเกินไป จึงได้มีการปรับเปลี่ยนภาชนะที่ใช้เลี้ยงและระบบการเลี้ยงใหม่

การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในตะกร้าพลาสติค

         จาก ที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้นว่า พบปัญหาในช่วงที่ทดลองเลี้ยงในขวดพลาสติคคือ เมื่อเลี้ยงกุ้งจนได้น้ำหนักเฉลี่ย 70-100 กรัม กุ้งจะลอกคราบไม่ออกและตายในที่สุด สาเหตุน่าจะมาจากพื้นที่ขวดคับแคบเกินไปนั่นเอง จึงได้มีการเปลี่ยนภาชนะเลี้ยงใหม่ที่มีความเหมาะสมมากกว่า เช่น เลี้ยงในตู้กระจกที่บรรจุน้ำได้เฉลี่ย 16-17 ลิตร และใส่ไว้ในตะกร้าพลาสติคอีกชั้นหนึ่ง ระบบการเลี้ยงเหมือนกับที่เลี้ยงในขวดพลาสติคทุกประการ จากการทดลองพบว่า กุ้งมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเดือนละ 30-60 กรัม คาดว่าตั้งแต่เริ่มเลี้ยงจะใช้เวลาเลี้ยงนานประมาณ 5-6 เดือน จะจับขายได้และเมื่อคำนวณค่าอาหารที่ใช้เลี้ยงเป็นเงิน 45 บาท ต่อน้ำหนักกุ้ง 1 กิโลกรัม แต่วิธีการเลี้ยงแบบนี้เหมาะสำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่เลี้ยงน้อย เลี้ยงเป็นอาชีพเสริมได้เป็นอย่างดี แต่จะต้องประยุกต์ใช้ภาชนะที่มีต้นทุนต่ำกว่าตู้กระจก


เลี้ยงกุ้งก้ามกรามในตะกร้าพลาสติคเชิงพาณิชย์


          ควรจะเลี้ยงในแม่น้ำและสร้างกระชังเลี้ยงเหตุผล ที่แนะนำสำหรับเกษตรกรที่คิดจะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในตะกร้าพลาสิคเชิงพาณิชย์ ควรจะเลี้ยงในแม่น้ำและสร้างกระชัง เนื่องจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในเรื่องค่าไฟฟ้าและการจัดการเรื่องระบบหมุน เวียนของน้ำ ในการสร้างกระชังจะสร้างอย่างง่ายๆ คือ สร้างเป็นแพลอยน้ำเฉยๆ ไม่ต้องมีตาข่ายไนล่อนเหมือนกระชังปลา แต่จะต้องสร้างคานสำหรับแขวนตะกร้าพลาสติคและมีทางเดินสำหรับให้อาหาร กระชังไม่ต้องสร้างให้รับน้ำหนักได้มาก เพราะตะกร้าจะลอยอยู่ในน้ำแทบจะไม่ได้รับน้ำหนักเลย ขนาดของกระชังที่แนะนำคือ ขนาดพื้นที่ประมาณ 25 ตารางเมตร สามารถวางตะกร้าเลี้ยงได้ 120 ตะกร้า ตะกร้าพลาสติคที่ใช้เลี้ยงจะต้องมีฝาปิดเพื่อป้องกันกุ้งหลบหนี ด้านบนและด้านข้างโปร่ง ส่วนด้านล่างตะกร้าตัน ขนาดตะกร้ามีความกว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 45 เซนติเมตร และสูง 30 เซนติเมตร ตะกร้าพลาสติคซื้อเพียงครั้งเดียวใช้ได้นานหลายรุ่น


           วิธีการแขวน ตะกร้าให้แขวนอยู่ใต้ระดับน้ำเล็กน้อยและแขวนเป็นแถวห่างกันพอประมาณ เพื่อความสะดวกในการให้อาหารและทำความสะอาดตะกร้า ในการแขวนมีเคล็ดลับอยู่ว่าจะต้องแขวนตะกร้าให้สามารถเคลื่อนไหวได้ อย่ามัดตะกร้าติดกับคานจนแน่น เนื่องจากเมื่อตะกร้าไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ ตะกอนในน้ำจะตกค้างที่ก้นตะกร้ามาก และจะทำให้การถ่ายเทน้ำไม่ดี ผลตามมาจะทำให้กุ้งตายได้




อัตราการปล่อยกุ้งและการให้อาหาร


           แนะนำให้ปล่อยกุ้งก้ามกราม ขนาด 10-15 ตัว ต่อกิโลกรัม ให้อาหารกุ้งกุลาดำชนิดโปรตีนประมาณ 35% ให้ 2 เวลา คือ เช้า-เย็น แบ่งให้มื้อเย็นมากหน่อย เพราะนิสัยกุ้งจะกินอาหารมากในเวลากลางคืน โดยปกติจะให้อาหารในอัตรา 5% ของน้ำหนักตัวกุ้ง และจะต้องเขย่าตะกร้าสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง เพื่อให้ตะกอนที่ตกอยู่บริเวณก้นตะกร้าหลุดออกไป ช่วยให้ระบบการถ่ายเทน้ำให้ดีขึ้น รวมถึงอัตราการเจริญเติบโตของกุ้งดีขึ้นตามไปด้วย ได้มีการคำนวณถึงต้นทุนค่าอาหารในการเลี้ยงกุ้งแต่ละตัวจะไม่เกิน 20 บาท อย่างไรก็ตาม กุ้งก้ามกรามที่ซื้อมาเลี้ยงในตะกร้าและเลี้ยงในแม่น้ำนั้นจะต้องเป็นกุ้ง ที่คัดเป็นพิเศษ ไม่มีบาดแผล ก้ามไม่หัก ครีบไม่กร่อนและมีระยางค์ครบ โดยปกติกุ้งก้ามกรามขนาด 10-15 ตัว ต่อกิโลกรัม จะซื้อมาเลี้ยงในราคาประมาณกิโลกรัมละ 170-180 บาท



เลี้ยงกุ้งก้ามกรามในบ่อดินควบคู่การเลี้ยงปลา
        
         เป็นที่สังเกตว่ากุ้งก้ามกรามที่เลี้ยงในตะกร้าพลาสติคและเลี้ยงในกระชังนั้น จะมีอัตราการลอกคราบเร็วกว่าที่เลี้ยงในขวดพลาสติคด้วยซ้ำไป ซึ่งพฤติกรรมในการลอกคราบจะสอดคล้องกับการเจริญเติบโต จากการทดลองเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในตะกร้าพลาสติคและเลี้ยงในกระชังนั้นพบว่า น้ำหนักตัวกุ้งเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 50-60 กรัม ต่อตัว ต่อเดือน นับว่าเร็วมาก ดังนั้น เมื่อเลี้ยงไปนานประมาณ 5-6 เดือน จะได้กุ้งก้ามกรามที่มีน้ำหนักตัวไม่น้อยกว่า 300 กรัม (3 ขีด) ซึ่งจะได้กุ้งก้ามกรามที่ขนาดน้ำหนักได้ 3 ตัว ต่อ 1 กิโลกรัม จับขายได้กิโลกรัมละ 600-700 บาท
         สำหรับเกษตรกรที่มีบ่อเลี้ยงปลา อยู่แล้วและมีความต้องการที่จะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามควบคู่ไปด้วยสามารถทำได้ แต่น้ำในบ่อจะต้องมีความสะอาดจริง และไม่แนะนำให้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามร่วมกับปลาดุกหรือปลาสวายอย่างเด็ดขาด เนื่องจากคุณภาพของน้ำไม่ดี จะทำให้กุ้งตายได้

          กุ้งก้ามกราม จัดเป็นกุ้งแม่น้ำที่มีรสชาติอร่อยมาก สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลากหลายชนิด ถ้าเป็นกุ้งตัวใหญ่น้ำหนักตัวไม่น้อยกว่า 300 กรัม นำไปทำกุ้งเผาขายในราคากิโลกรัมละ 1,000 บาท หรือนำไปทำอาหารยอดฮิตของคนไทยและชาวต่างชาติคือ ต้มยำกุ้งแม่น้ำ นักท่องเที่ยวต่างชาติโดยเฉพาะจากประเทศญี่ปุ่นที่เดินทางมาเที่ยวในประเทศ ไทยจะนิยมสั่งต้มยำกุ้งเป็นอันดับแรก นอกจากความอร่อยแล้วยังมีผลวิจัยว่าต้มยำจัดเป็นอาหารที่ช่วยป้องกันการเกิด โรคมะเร็งและโรคโลหิตจางได้




อ้างอิงข้อมูลและรูปภาพ

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1

http://www.sueissaraloei.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539321571

http://www.coastalaqua.com/webboard/index.php?topic=2428.0


















วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ส่งงานครั้งที่ 2 : ความสนใจ





กุ้งมังกร ( SPINY LOBSTER)


    กุ้งมังกรเป็นกุ้งทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งจัดอยู่ในครอบครัว Palinuridae พบมากทางชายฝั่งทะเลภาคใต้ฝั่งตะวันตกของประเทศไทย ด้านทะเลอันดามัน ตั้งแต่จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล คนทั่วไปมักเรียกชื่อกุ้งชนิดนี้ว่า "กุ้งหัวโขน" ทั้งนี้เพราะลักษณะเด่นของส่วนหัวของกุ้งมังกรมีสีสันลวดลายสวยงาม
    กุ้งมังกรหรือกุ้งหัวโขนเป็นสัตว์น้ำอีกชนิดหนึ่งที่มีศักยภาพสูงในอนาคต นับเป็นสัตว์น้ำที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เนื่องจากความต้องการของตลาดมีมาก ทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีราคาค่อนข้างแพง นอกจากจะใช้บริโภคเป็นอาหารแล้ว ยังใช้ทำเครื่องประดับตกแต่งบ้านและเลี้ยงไว้ในตู้ปลาสวยงามได้อีกด้วย (web 2,3) 

ลักษณะรูปร่าง
         
        กุ้งมังกรจะมีขนาดใหญ่กว่ากุ้งชนิื่นมาก มีกระงรูปทรงกระบอก หนวดคู่ที่ สองยาวกว่าความยาวของลำตัวมาก โคนหนวดคู่ที่สองไม่อยู่ติดกัน บนแผ่นกลาง หนวดมีหนามขนาดใหญ่อยู่ปลายสุด 1 คู่ อยู่ตรงแนวกลางของโคนหนวดคู่ที่ 1 โคน ละ 1 หนาม ปล้องท้องเรียบไม่มีร่องขวางกลางปล้อง ขอบท้ายของปล้องท้องมีลาย สีครีมขวางทุกปล้อง พบทั่วไปตามหาดโคลนทั้งทางด้านอ่าวไทยและทะเลอันดามัน (web 1,2,3) 
        
         ชนิดในน่านน้ำของประเทศไทยมีกุ้งมังกรอยู่หลายชนิด ไม่ว่าจะ เป็น P.ornatus, P.polyphagus, P. longipes, P.versicolor, P.homarus, P.penicillatus, P.dasypus ฯลฯ แต่ ชนิดที่พบบ่อยมีอยู่ 3 ชนิดคือ
      
         กุ้งมังกรประขาว , หัวโขนประขาว , กุ้งมังกรแดง (PURPLISH BROWN SPINY LOBSTER Panulirus longipes) เป็นกุ้งทะเลที่มีขนาดใหญ่ สวยงามมาก สีบริเวณลำตัวมีสีเทาหม่นอมน้ำตาล มีแถบขาวขวางตามปล้องลำตัวและขาเดิน หนวดคู่ยาวจะมีความยาวเป็น 2 เท่าของลำตัว บริเวณหัวจะมีหนามแหลมๆ เต็มไปหมด หนามคู่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุยู่หลังตา อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งกุ้งชนิดนี้จะอยู่ที่พื้นหน้าดินเป็นโคลน หรือโคลนปนเปลือกหอย มักจะชอบซ่อนตัวตามซอกหินกินอาหารพวกสัตว์น้ำเล็กๆ ซึ่งเกาะอยู่ตามตะไคร่น้ำ มีความยาวประมาณ 18-30 ซม

        กุ้งมังกรประเหลือง ,หัวโขนประเหลือง, กุ้งมังกรยักษ์ (YELLOW-RING SPINY LOBSTER Panulirus ornatus) ลำตัวสีน้ำทะเล มีจุดสีส้มประปราย บริเวณเปลือกหัวมีลักษณะแข็งมาก ขาเดินจะมีแถบสีเหลืองคาดขวางลำตัว มีขีดสีเหลืองสั้น 2 ขีด อยู่ด้านข้างของปล้องลำตัว อาศัยอยู่ตามโพรงหิน โพรงปะการัง แต่อยู่ในระดับน้ำลึก และกระแสน้ำค่อนข้างเชี่ยว พบทั่วไปตามบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย กินอาหารพวกหอยและสัตว์น้ำที่อยู่ตามพื้นทะเล มีความยาวประมาณ 20-40 ซม.

        กุ้งมังกรหัวเขียว หัวโขนเขียวหรือกุ้งมังกรเจ็ดสี (PAINTED SPINY LOBSTER panulirus versicolor) เป็นกุ้งมังกรที่มีขนาดใหญ่กว่ากุ้งอื่นๆ ในวงศ์เดียวกัน ลำตัวค่อนข้างยาว ท่อนหัวจะยาวประมาณครึ่งหนึ่งของความยาวลำตัว มีหนวด 2 คู่ คู่แรกมีขนาดเล็ก ปลายหนวดแต่ละเส้นแยกเป็นหนวดเล็กๆ ข้างละสองเส้น หนวดคู่ที่สองมีขนาดใหญ่และมีความยาวประมาณ 2 เท่าของความยาวลำตัว ส่วนของหัวมีลักษณะเป็นหนามขรุขระ มีขาเดิน 5 คู่ แพนหางแบนราบ สีตรงส่วนบนของลำตัวเป็นสีเขียวเข้มอมสีตองอ่อน ตามปล้องของลำตัวจะมีขอบเป็นสีขาวอยู่ตรงบริเวณข้อพับทุกปล้อง หางมีสีเหลืองอมแดง บริเวณใต้ท้องมีรยางค์ 6 คู่ อาศัยอยู่ตามพื้นทะเลซึ่งมีโขดหิน และบริเวณรอบเกาะที่มีปะการังหนาแน่นพบว่ามีอยู่มากที่หมู่เกาะพีพี เกาะไม้ท่อน ภูเก็ต และบริเวณกลางอ่าวไทย กินอาหารพวกหอยและสัตว์น้ำที่อยู่ตามพื้นทะเล มีขนาดควายาวจากหัวถึงหางประมาณ 70 ซม. (web 1,2)

การเจริญเติบโต
      
           กุ้งมังกรเป็นกุ้งที่เติบโตช้ามากเมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ การเจริญเติบโตใช้วิธีการลอกคราบในขณะที่อยู่ในวัยอ่อน จะมีการลอกคราบบ่อยครั้ง คือประมาณอาทิตย์ละ 1-2 ครั้ง กว่าจะโตเต็มที่ต้องใช้เวลาประมาณ 5-7 ปี
การเพาะพันธุ์
           
           ประเทศที่ประสบผลสำเร็จในการเพาะฟักกุ้งมังกรได้แก่ ประเทศญี่ปุ่นและอัฟริกาเท่านั้นส่วนในประเทศไทยการเลี้ยงกุ้งมังกรในเชิงพานิชย์ยังไม่สามารถทำได้ เนื่องจากกุ้งมังกรมีระยะวัยอ่อนค่อนข้างยาวนาน จึงไม่สามารถอนุบาลลูกกุ้งวัยอ่อนให้รอดและเจริญเติบโตในบ่อเพาะฟักได้ กุ้งมังกรที่เลี้ยงจึงเป็นกุ้งที่หาได้จากแหล่งธรรมชาติ แล้วนำมาเลี้ยงให้ได้ขนาดต่อไป (web 1,2,3)

                                                             
                                                              การเลี้ยงกุ้งมังกร



         การเลี้ยงกุ้งมังกรในบ่อซีเมนต์: บ่อที่ใช้เลี้ยงเป็นบ่อซีเมนต์กลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 130 ซม.ลึก 80 ซม.ระดับน้ำที่เลี้ยง 35 ซม. น้ำที่ใช้เลี้ยงเป็นน้ำทะเลสดพักไว้ในบ่อพักน้ำแล้วปล่อยให้ไหลลงบ่อเลี้ยง ตลอดเวลา (over flow) พร้อมทั้งให้ฟองอากาศ ที่กลางบ่อมีท่อ PVC เจาะรูขนาดเล็กโดยรอบเพื่อให้น้ำและเศษอาหารเหลือไหลผ่านออกไปได้ ควบคุมระดับน้ำด้วยท่อน้ำล้นนอกบ่อ แต่ละบ่อทดลองใส่ท่อ PVC สั้นๆ เพื่อเป็นที่หลบซ่อน ความเค็มของน้ำอยู่ในช่วง 29-31 ppt อุณหภูมิของน้ำในบ่อเลี้ยงประมาณ 29.0-34.5 องศาเซลเซียส กุ้งมังกรที่เลี้ยงมี 3 ชนิด คือ Panulirus ornatus,Panulirus homarus และ Panulirus polyphagus เป็นกุ้งมังกรวัยรุ่นมีขนาด CL เฉลี่ย 51.06-54.38 มม.(carapace lengh (CL) =ระยะจากกึ่งกลางหนามคู่หน้าถึงปลายสุดกึ่งกลาง carapace) ปล่อยกุ้งบ่อละ 4 ตัว เนื่องจากถ้าปล่อยกุ้งแน่นเกินไปจะแย่งที่อยู่และอาหารกัน ขณะเดียวกันพฤติกรรมการกินกันเอง (canibalism) ก็จะเกิดมากขึ้นด้วย แต่ถ้าปล่อยเลี้ยงตัวเดียวในบ่อ อัตราการเจริญเติบโตจะลดลง ส่วนอาหารที่ใช้เลี้ยงกุ้งมังกรคือปลาเป็ดสับเป็นชิ้นเล็กๆ ให้วันละ 2 ครั้ง ในเวลา 6 เดือน กุ้งมังกร Panulirus ornatus มีอัตรารอด 77 เปอร์เซ็นต์,Panulirus homarus 78 เปอร์เซ็นต์ และ Panulirus polyphagus 39 เปอร์เซ็นต์



         การเลี้ยงกุ้งมังกรในกระชัง: นำกุ้งมังกรขนาดเท่านิ้วก้อย มาอนุบาลในกระชังตาถี่ก่อน อาหารของกุ้งมังกรขนาดเล็กจะเป็นพวกหอยแมลงภู่บดหรือสับให้ละเอียดโรยให้วัน ละ 1 มื้อ บริเวณที่เลี้ยงต้องมีน้ำขึ้นน้ำลงตลอด และเป็นที่น้ำไหล ไม่มีคลื่น เมื่ออนุบาลลูกกุ้งมังกรได้ 2 เดือน จะได้ขนาด 200 กรัม จึงย้ายมาไว้ในกระชังรวมได้ กระชังมีขนาด 2.5x2.5 เมตร ลึกประมาณ 2 เมตร ปล่อยลูกกุ้งมังกรประมาณ 50 ตัว/กระชัง อาหารของกุ้งมังกรในระยะนี้จะเป็นปลาเป็ดหรือหอยแมลงภู่มีชีวิตทั้งเปลือก วันละ 1 ครั้ง และเมื่อเลี้ยงในกระชังเป็นเวลานาน กระชังจะมีหอย,เพรียง,สาหร่าย และสัตว์น้ำอื่นๆ เกาะติด ซึ่งจะกลายเป็นอาหารธรรมชาติของกุ้งต่อไป นอกจากนี้ ต้องปิดกระชังด้านบนด้วยเนื้ออวน เพื่อป้องกันกุ้งมังกรไต่หลบหนีออกจากระชัง ถ้าใช้ระยะเวลาในการเลี้ยง 8-9 เดือน จะได้กุ้งมังกรขนาด 0.8-1.0 กก.

วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

งานครั้งที่ 1 : ความสนใจ






กุ้งยอดฮิต เครย์ฟิช สัตว์น้ำชนิดใหม่ของวัยรุ่น


กุ้งเครย์ฟิช กลายเป็นแฟชั่นใหม่ของวัยรุ่นที่ชอบเลี้ยงสัตว์น้ำสวยงามไปซะแล้ว ด้วยความที่มีสีสันหลากหลายสวยงาม และเป็นสัตว์น้ำที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ มีรูปร่างบึกบึนน่าเกรงขาม เลี้ยงง่าย กินซากพืชซากสัตว์เป็นอาหาร ราคาเริ่มตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลายพันบาท ทำให้กลายเป็นที่นิยมกว้างขวางขึ้นในหมู่วัยรุ่น (web 2)
 เครย์ฟิช หรือ ครอว์ฟิช เป็นกุ้งน้ำจืดจำพวกหนึ่ง มีรูปร่างโดยรวมลำตัวใหญ่ เปลือกหนา ก้ามใหญ่แลดูแข็งแรง มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือทวีปยุโรปโอเชียเนียและบริเวณใกล้เคียง เช่น อีเรียนจายา และเอเชียตะวันออก ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานเครย์ฟิชไปแล้วกว่า 500 ชนิด ซึ่งกว่าครึ่งนั้นเป็นเครย์ฟิชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ แต่ก็ยังมีอีกหลายร้อยชนิดที่ยังไม่ได้รับการอนุกรมวิธาน อีกทั้งหลายชนิดยังมีความหลากหลายทางสีสันมากอีกด้วย (web 1,2,3)

โครงสร้างของร่างกาย
ร่างกายเครย์ฟิชนั้นแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนกลาง หรือ ทอแร็ก คือส่วนที่มีขาใช้สำหรับเดิน ส่วนสุดท้ายคือ ส่วนท้องซึ่งเป็นส่วนที่มีเนื้อเยอะมากที่สุด ซึ่งส่วนหัวกับส่วนกลางนั้นเชื่อมติดรวมกันเป็นชิ้นเดียว เรียกว่า เซฟาโลทอแร็ก (ข้อมูลบางแหล่งอาจระบุว่าเครย์ฟิชนั้นมีลำตัวเพียง 2 ส่วนก็ได้) ทั้งตัวนั้นจะถูกหุ้มด้วยเปลือก หรือ คาราเพซ ซึ่งทำหน้าที่ 2 อย่าง คือ ใช้สำหรับปกป้องลำตัว และเป็นที่ตั้งของอวัยวะหายใจ คือ เหงือกที่มีลักษณะคล้ายขนนกอยู่ใกล้บริเวณปาก ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในระบบหายใจ คือเป็นทางผ่างของน้ำเพื่อให้น้ำไหลผ่านช่องเหงือกนั่นเอง
ในส่วนของขานั้นแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ขาเดิน ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด 5 คู่ โดยคู่แรกนั้นถูกพัฒนาจนกลายเป็นก้าม ใช้สำหรับหยิบจับอาหารและใช้ต่อสู้ และ ขาว่ายน้ำ จะมีลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆ มีไว้สำหรับโบกน้ำที่มีออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายเพื่อหายใจ รวมทั้งโบกพัดแพลงค์ตอนเข้าหาตัวเพื่อกินเป็นอาหารอีก ในเครย์ฟิชตัวเมีย ขาว่ายน้ำยังใช้เป็นที่อุ้มไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิอีกแล้วต่างหาก (web 1,3)

การแบ่งวงศ์และสกุล
เครย์ฟิชนั้นสามาถแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ใหญ่ ๆ คือ Astacoidea ซึ่งเป็นวงศ์ใหญ่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป สามารถแบ่งเป็นวงศ์ย่อยได้อีก 2 วงศ์คือ Astacidae และ Cambaridae โดยเครย์ฟิชชนิดที่เป็นที่รู้จักกันดีในวงศ์นี้คือ Procambarus clarkii โดยรวมแล้วเครย์ฟิชในวงศ์นี้ มีรูปร่างใหญ่ ไม่มีกรี มีลักษณะเด่นคือ ก้ามมีหนาม ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 20 เซนติเมตร และวงศ์ใหญ่ Parastacoideaซึ่งมีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคโอเชียเนียและอีเรียน จายา เครย์ฟิชในวงศ์นี้ก้ามจะไม่มีหนาม และลักษณะของก้ามจะป่องออกต่างไปจากวงศ์ Astacoidea แต่มีที่หนีบสั้นและเล็กกว่า ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 30-40 เซนติเมตร ชนิดของเครย์ฟิชในวงศ์นี้ที่เป็นที่รู้จัก คือ Cherax quadricarinatus

การแบ่งเพศและวงจรชีวิต
กุ้งเครย์ฟิช สามารถนำมาเลี้ยงในตู้ปลาได้ แต่หากเลี้ยงรวมกันหลายตัว ควรจะเลี้ยงในตู้ปลาขนาดใหญ่ ที่มีขนาดไม่ต่ำกว่า 24 นิ้ว เพราะกุ้งเครย์ฟิช มีนิสัยค่อนข้างก้าวร้าว และหวงถิ่นที่อยู่ เมื่อมีเนื้อที่กว้างจะทำให้กุ้งแต่ละตัวสามารถสร้างอาณาเขตของตนเองได้ หากนำมาเลี้ยงรวมกันอย่างหนาแน่นจะพบว่า กุ้งเครย์ฟิช ขนาดเล็กมักถูกรังแกและมีโอกาสที่จะถูกกุ้งเครย์ฟิชที่มีขนาดใหญ่กว่ากิน เป็นอาหารได้ นอกจากนี้ ควรใส่ขอนไม้ กระถางต้นไม้แตกๆ หรือท่อ พีวีซี ตัดเป็นท่อนๆ เพื่อให้กุ้งเครย์ฟิชได้หลบอาศัยในเวลากลางวัน เพราะปกติช่วงกลางวันเป็นเวลาที่มันจะอยู่เงียบๆ แต่จะออกมาหาอาหารในเวลากลางคืนมากกว่า             สำหรับการตกแต่งตู้เลี้ยง กุ้งเครย์ฟิชนั้น หากชอบให้ตู้โล่งก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน แต่ควรใส่ท่อพีวีซีลงไปด้วย เพื่อให้กุ้งได้ใช้ในการหลบซ่อนตัว แต่หากต้องการให้ตู้เลี้ยงมีความสวยงามก็สามารถใช้กรวดปูพื้นตู้ได้ แต่มักพบว่า กุ้งเครย์ฟิชมีนิสัยชอบขุดคุ้ยกรวดเพื่อสร้างเป็นที่กำบังในเวลากลางวัน จึงทำให้ไม่เป็นเหมือนครั้งแรกที่แต่งไว้ ทั้งนี้ จึงควรจะปูกรวดให้หนา ไม่ต่ำกว่า 5 เซนติเมตร เพื่อให้กุ้งเครย์ฟิชขุดกลบลำตัวได้ แต่ไม่ควรปูพื้นตู้ด้วยทราย เพราะมีความหนาแน่นสูง หากกุ้งเครย์ฟิชมุดลงไปแล้วอาจทำให้ขาดอากาศหายใจได้
 ผู้เลี้ยงไม่จำเป็นที่จะต้องติดตั้งปั๊มออกซิเจนในตู้เลี้ยงก็สามารถทำได้หากเลี้ยงจำนวนน้อย แต่หากต้องการจะติดตั้งเครื่องปั๊มออกซิเจนก็ปล่อยอากาศให้น้ำกระเพื่อมเบาๆ ก็พอ ส่วนระบบกรองน้ำ ควรใช้ชนิดกรองบน กรองแขวน หรืออาจจะใช้กรองฟองน้ำที่เป็นตุ้มก็เพียงพอ แต่ไม่ควรใช้ชนิดกรองใต้ตู้ เพราะกุ้งเครย์ฟิชมักจะขุดกรวดขึ้นมา
อุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสมในการ เลี้ยงกุ้งเครย์ฟิช คือ ประมาณ 23-28 องศาเซลเซียส ค่าพีเอช ที่เหมาะสมคือ ประมาณ 7.5-10.5 แต่หากน้ำมีความกระด้างสูง ก็สามารถใส่เกลือลงไปในตู้ได้ เพื่อเป็นการปรับสภาพน้ำ นอกจากนี้ เกลือยังช่วยเสริมแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อการลอกคราบและสร้างเปลือกใหม่ ด้วย สำหรับการเปลี่ยนถ่ายน้ำ ควรจะเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อยๆ แต่ทีละน้อย เพื่อป้องกันอุณหภูมิเปลี่ยนฉับพลัน และน้ำที่ใช้ควรเป็นน้ำสะอาด
             กุ้งเครย์ฟิช สามารถกินอาหารได้เกือบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นพืชผัก เศษเนื้อสัตว์ หรือให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปชนิดจมก็ได้ เพื่อความสะดวก แต่ไม่ควรให้อาหารบ่อย 2-3 วัน ให้ครั้งหนึ่งก็พอ และควรให้น้อยๆ แต่พอดี เพื่อป้องกันการตกค้างของอาหาร ซึ่งจะทำให้น้ำเน่าเสีย ส่งผลต่อการเกิดโรคได้ และควรให้อาหารในเวลากลางคืน เพราะตามธรรมชาติ กุ้งเครย์ฟิชเป็นสัตว์ที่หาอาหารกินในเวลากลางคืน
             สำหรับการเพาะพันธุ์กุ้งเครย์ฟิชนั้นไม่ยาก เพราะสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี และสามารถขยายพันธุ์ได้ง่าย เพียงนำกุ้งเครย์ฟิชตัวผู้กับตัวเมียมาปล่อยรวมกัน แต่ต้องมั่นใจว่าเป็นตัวผู้กับตัวเมีย โดยสังเกตที่อวัยวะสืบพันธุ์ตรงช่วงขาเดิน กุ้งตัวผู้มีอวัยวะคล้ายตะขอบริเวณขาเดินคู่ที่สองและสาม ซึ่งตะขอนี้เอาไว้เกาะตัวเมียตอนผสมพันธุ์ ส่วนตัวเมียจะมีอวัยวะสืบพันธุ์เป็นแผ่นทรงวงรีบริเวณขาเดินคู่ที่ 3
             กุ้งเครย์ฟิช ใช้เวลาผสมพันธุ์นานกว่า 10 นาที หลังจากนั้นสามารถย้ายกุ้งตัวเมียไปยังตู้อนุบาลได้ เพื่อเป็นการเตรียมที่อยู่สำหรับลูกกุ้ง หลังจากนั้น ตัวเมียจะทยอยผลิตไข่ขึ้นมาไว้บริเวณขาว่ายน้ำเป็นกระจุก มองคล้ายพวงองุ่น หลังจากที่ไข่ได้รับการปฏิสนธิแล้วตัวเมียจะหาที่หลบซ่อนนอนนิ่งไม่ยอมกิน อะไร ระยะเวลาที่ตัวอ่อนใช้ในการพัฒนารูปร่างนั้นจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ปริมาณอาหาร และคุณภาพน้ำด้วย โดยเฉลี่ยไข่จะพัฒนาจนเป็นตัวอ่อนเหมือนโตเต็มวัยภายใน 3-4 สัปดาห์ หลังจากนั้น ลูกกุ้งจะถูกปล่อยให้ว่ายน้ำเป็นอิสระ ในการผสมพันธุ์แต่ละครั้งแม่กุ้งสามารถให้กุ้งได้มากถึง 300 ตัว ซึ่งพ่อแม่กุ้งไม่มีพฤติกรรมกินลูกกุ้งเป็นอาหาร และลูกกุ้งก็จะอยู่ไม่ห่างพ่อแม่นัก เพื่อคอยเก็บเศษอาหารที่เหลือจากพ่อแม่กินเป็นอาหารนั่นเอง
            ตัวอ่อนของกุ้งเครย์ฟิช มีขนาดประมาณ 2-3 มิลลิเมตร โดยจะกินเศษอาหารก้นตู้เป็นหลัก สามารถให้ไส้เดือนฝอย ไรทะเล เป็นอาหารเสริมได้ แต่ควรระวังเรื่องคุณภาพน้ำด้วย อย่าปล่อยเศษอาหารเหลือทิ้งจนเน่าเสีย ซึ่งควรให้อาหารให้เพียงพอ เพราะตัวอ่อนจะมีพฤติกรรมกินกันเอง (web 1,2)

 ข้อควรระวัง 
 ตู้อนุบาลตัวอ่อนควรมีพื้นที่ และวัสดุหลบซ่อน โดยเฉพาะกระถางต้นไม้ เพราะในช่วงเดือนแรก ลูกกุ้งจะลอกคราบบ่อย ทำให้ลำตัวอ่อนนิ่ม และมีเปอร์เซ็นต์ถูกกินเป็นอาหารมากขึ้น เมื่อลูกกุ้งมีอายุประมาณ 1 เดือน จะเริ่มมีสีสันเหมือนตัวโตเต็มวัย
           การลอกคราบเป็นขั้นตอนที่สำคัญใน การเจริญเติบโตของกุ้งเครย์ฟิช เพราะแสดงถึงขนาดลำตัวที่โตมากขึ้น ซึ่งลูกกุ้งจะลอกคราบเดือนละครั้ง โดยมีระยะห่างในการลอกคราบแต่ละครั้งจะยาวนานขึ้นเมื่อกุ้งเจริญเติบโตขึ้น และเมื่อกุ้งเครย์ฟิชโตเต็มที่จะลอกคราบเพียงปีละครั้งเท่านั้น ในการลอกคราบแต่ละครั้ง กุ้งเครย์ฟิชจะมีลำตัวนิ่มและอ่อนแอมาก จึงต้องหาที่ปลอดภัยสำหรับหลบซ่อนและค่อนข้างอยู่นิ่งๆ ประมาณ 2-3 วัน จนกว่าเปลือกจะแข็งเป็นปกติ
            อย่างไรก็ตาม หากเห็นว่ากุ้งเครย์ฟิชกำลังลอกคราบ ไม่ควรรบกวน เพราะอาจทำลายความต่อเนื่องของกระบวนการลอกคราบได้ หากกุ้งเครย์ฟิชตกใจอาจทำให้การลอกคราบไม่สมบูรณ์เต็มที่ โดยชิ้นส่วนของเปลือกชุดเก่ายังติดอยู่บริเวณก้าม ในขณะที่เปลือกชุดใหม่เริ่มแข็งตัว อาจทำให้เกิดความผิดปกติได้ อาทิ มีเปลือกสองชั้นทับกัน หรือก้ามบิดเบี้ยวผิดรูปได
  ไม่ควรเลี้ยง กุ้งเครย์ฟิช ที่มีถิ่นกำเนิดต่างกันไว้ด้วยกัน เพราะพันธุ์ที่มีนิสัยก้าวร้าว จะจับพันธุ์ที่มีนิสัยเรียบร้อยกว่ากินเป็นอาหาร รวมทั้งควรเลี้ยงกุ้งเครย์ฟิชที่มีขนาดเท่าๆ กัน หรือใกล้เคียงกันไว้ด้วยกัน (web 2,3)